วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6
วันพุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
ความรู้ที่ได้รับ
     


     อาจารย์ได้พูดเรื่อง พัฒนาการของเพียเจย์ได้แบ่งความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ตามพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
  1. ความรู้ทางด้านกายภาพ
  2. ความรู้ด้านเหตุผลคณิตศาสตร์
     และอาจารย์ได้พูดเรื่อง ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัย มีทั้งหมด 12 ข้อ ดังนี้
  1. การนับ (Counting)
  2. ตัวเลข (Number)
  3. การจับคู่ (Matching)
  4. การจัดประเภท (Classification)
  5. การเปรียบเทียบ (Comparing)
  6. การจัดลำดับ (Ordering)
  7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space)
  8. การวัด (Measurement)
  9. เซต (Set)
  10. เศษส่วน (Fraction)
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
  12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)
     และอาจารย์ได้ให้การบ้านไปหาตัวอย่าง ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัยลงบล็อก ดังนี้ค่ะ

  1. การนับ  เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 ถึง 10 หรืออาจจะมากกว่านั้น
  2. ตัวเลข เช่น ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
  3. การจับคู่ เช่น จับคู่สิ่งของที่ตรงข้ามกัน หรือเหมือนกัน
  4. การจัดประเภท เช่น การจัดประเภทสิ่งของที่กินได้ หรือจัดประเภทของใช้
  5. การเปรียบเทียบ เช่น สิ่งของที่สั้นกว่า ยาวกว่า
  6. การจัดลำดับ เช่น เรียงสิ่งของที่มีจำนวนน้อยไปหามาก หรือมากมาหาน้อย
  7. รูปทรงและเนื้อที่  เช่น การบอกชื่อรูปทรงเรขาคณิตศาสตร์แบบง่ายๆ
  8. การวัด เช่น ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ
  9. เซต 
  10. เศษส่วน เช่น การแบ่งนมในปริมาณที่เท่าๆกัน
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เช่นการฉีกกระดาษตามรูปทรงที่กำหนด
  12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ เช่น ให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริง เด็กได้มีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า จะย้ายที่หรือทําให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
ความรู้ที่ได้รับ
 สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอบทความ และ วิจัยเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

  • นางสาวรุ่งฤดี โสดา ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการให้เด็กได้ลงมือทำจริง ให้เด็กๆเรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่ในชีวิตประจำวัน และไม่ควรเรียนที่ยากเกินไป
  • นางสาวรัตนา พงษา นำเสนอวิจัยเรื่องการพัฒนาโดยสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมคณิตศาสตร์ โดยที่ผู้สอนต้องวิเคราะห์ก่อนว่าเด็กในวัยนี้อยู่ในช่วงใด และควรเรียนเรื่องใด จากนั้นก็ลงมือสอน และประเมินเปรียบเที่ยบการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนว่าเด็กได้อะไรจากการเรียนรู้นั้นๆ

หลังจากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น และได้ให้พวกเราช่วยกันคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นสามารถทำให้เป็นประโยคสัญลักษ์ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง


   ต่อมาอาจารย์ได้สอนการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยโดยแบ่งออกเป็น 2 ตัวเลือก คือ ส้มตำ และ ลาบไก่ โดยให้นักศึกษาทุกคนออกไปเลือกว่าตัวเองชอบกินอาหารประเภทไหนมากกว่ากัน 


    อาจารย์ให้แต่ละคนเขียนลงในแผ่นกระดาษโดยคิดว่าคนเราใช้คณิตศาสตร์ทำอะไรบ้างในชีวิตประจำวัน สำหรับตัวนักศึกษาเองคิดว่า คณิตศาสตร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือ การกดเงินในบัตร ATM คือเราจะได้จดจำรหัสของบัตร เลขบัญชี และการคิดคำนวณยอดเงินในบัญชีค่ะ


 กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ได้เปิดเพลงแล้วให้พวกเราทำสัญลักษณ์แทนจังหวะการปรบมือค่ะ 


   วันนั้นดิฉันไม่มาเรียน อ้าวอิงจากบล็อกของ นาวสาว ปิยธิดา ประเสริฐสังข์ 

สรุปบทความ พื้นฐานกิจกรรม 4 อย่าง ฝึกลูกสนุกเลข                 ดังนั้นจึงสอดรับกับ 4 กิจกรรมพื้นฐานที่พ่อธีร์ออกแบบไว้สำหรับพ่อแม่เพื...